วันที่ 3 กันยายน 2563

ท่านผู้โดยสารโปรดทราบ! ในวันที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเปิดครบทุกสเตชั่น

สิ่งที่จะตามมา ในวันที่รถไฟฟ้า สาย สีน้ำเงินเปิดครบทุกสเตชั่น

MRTสายสีน้ำเงิน.jpg

นับตั้งแต่ที่รถไฟฟ้า สาย สีน้ำเงิน หรือ MRT สาย สีน้ำเงิน เปิดให้ใช้บริการช่วงเตาปูน – ท่าพระ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา ก็เรียกว่าได้นำพาความสะดวกสบายมาที่ชุมชนที่อยู่ห่างไกลออกไปมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว การท่องเที่ยวเติบโตขึ้น หรือแม้กระทั่งทัศนียภาพต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับบทความนี้ BC จะพาทุกคนไปดูรูปแบบการเดินรถไฟฟ้า สาย สีน้ำเงิน, ไกด์การเดินทาง และข้อดีของการที่มีรถไฟฟ้า สาย สีน้ำเงิน จะนำมาอะไรมาสู่ประชาชนบ้าง ไปดูเลยครับ

เส้นทางรถไฟฟ้า สาย สีน้ำเงิน ระยะทางรวม 48 กม. 38 สถานี ประกอบไปด้วย
• โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล สถานีหัวลำโพง – สถานีบางซื่อ ระยะทาง 20 กิโลเมตร 18 สถานี
• โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย สถานีหัวลำโพง – สถานีหลักสอง ระยะทาง 14 กิโลเมตร สถานีใต้ดิน 4 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี รวม 11 สถานี และ สถานีบางซื่อ – สถานีท่าพระ ระยะทาง 13 กิโลเมตร เป็นสถานียกระดับ 8 สถานี

รูปแบบการเดินรถไฟฟ้า สาย สีน้ำเงิน
สำหรับเส้นทางการเดินรถของรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล หรือ MRT สาย สีน้ำเงิน จะมีลักษณะเป็นเส้นทางวงแหวนรอบเมือง เป็น Circle Line ที่มีลักษณะการวิ่งของรถไฟฟ้าคล้าย ๆ ตัว Q กลับด้าน หรือเลข 9 คือเริ่มวิ่งจากสถานีท่าพระ ผ่านไปทางจรัญสนิทวงศ์ เตาปูน บางซื่อ จตุจักร ห้วยขวาง ศูนย์วัฒนธรรมฯ พระราม 9 สุขุมวิท คลองเตย สีลม สามย่าน หัวลำโพง วัดมังกร อิสรภาพ มาบรรจบที่สถานีท่าพระอีกครั้ง แล้วจึงวิ่งตรงไปยังสถานีหลักสอง ซึ่งเป็นสถานีปลายทาง

ในทางกลับกัน ก็จะวิ่งจากสถานีหลักสอง ผ่านท่าพระ อิสรภาพ วัดมังกร หัวลำโพง สามย่าน สีลม คลองเตย พระราม 9 ศูนย์วัฒนธรรมฯ ห้วยขวาง รัชดาฯ จตุจักร บางซื่อ เตาปูน บางโพ จรัญสนิทวงศ์ และมาสิ้นสุดที่สถานีท่าพระ

map-mrt-สายสีน้ำเงิน.jpg
ภาพประกอบจาก BLT

ไกด์การเดินทางด้วยรถไฟฟ้า สาย สีน้ำเงิน
สำหรับช่วงเวลาเร่งด่วนวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 7.00 - 9.00 น. และ 17.00 - 20.00 น. ผู้โดยสารสามารถเลือกเดินทางระยะสั้น โดยมาเปลี่ยนขบวนที่สถานีท่าพระ ไปยังสถานีเตาปูนหรือบางซื่อ โดยนั่งผ่านจรัญฯ 13 และบางโพ แต่หากเป็นช่วงเวลาปกติและไม่ได้เร่งรีบมากนัก สามารถเลือกเดินทางแบบนั่งยาว ๆ โดยไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถได้

หากเดินทางมาจากรถไฟฟ้าสายสีม่วง แล้วลงที่สถานีเตาปูน สามารถเลือกเดินทางไปหัวลำโพงได้ 2 ทางคือ มาทางบางโพ, สิรินธร แล้วเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีท่าพระ โดยเดินลงมาที่ชานชาลา 2 แล้วนั่งจากสถานีท่าพระ ไปสถานีหัวลำโพง หรือจะเลือกเดินทางในเส้นทางเดิม คือ นั่งผ่านสถานีบางซื่อ จตุจักร ห้วยขวาง ศูนย์วัฒนธรรมฯ คลองเตย หัวลำโพง ก็ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถ

ค่าโดยสารรถไฟฟ้า สาย สีน้ำเงิน
ถึงแม้ว่าเส้นทางของรถไฟฟ้า สาย สีน้ำเงิน จะมีระยะทางยาวถึง 48 กิโลเมตร และมีสถานีให้บริการรวม 38 สถานี แต่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ยืนยันว่า ผู้โดยสารยังคงจ่ายค่าโดยสารในอัตราเดิม คือ ต่ำสุด 16 และสูงสุด 42 บาท ตลอดสาย

อัตราค่าโดยสาร-รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน-2563.jpg

และในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีม่วง และรถไฟฟ้า สาย สีน้ำเงิน อัตราค่าโดยสารร่วมต่ำสุดเริ่มต้นที่ 14 บาท และสูงสุด 70 บาท ซึ่งไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน สถานีท่าพระ จุดเปลี่ยนสำคัญในการเดินทาง
นอกจากรถไฟฟ้าสถานีท่าพระจะเป็น Interchange Station หรือจุดเปลี่ยนสำคัญในการเดินทางแล้ว ภายในสถานีท่าพระยังแบ่งออกเป็น 4 ชั้น ประกอบด้วย

ชั้นที่ 1 ระดับพื้นดิน : มีทางขึ้น – ลง 10 จุด มีทางออกฉุกเฉิน 2 จุด มีห้องสำหรับระบบภายในสถานี

ชั้นที่ 2 ชั้นจำหน่ายตั๋ว : มีจุดจำหน่ายตั๋ว และพื้นที่ Free Area 3 จุด

ชั้นที่ 3 ชั้นชานชาลาสายสีน้ำเงิน : ช่วงหัวลำโพง – หลักสอง และ ชั้นที่ 4 ชั้นชานชาลาสายสีน้ำเงิน ช่วงเตาปูน – ท่าพระ

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน-2.jpgภาพประกอบจาก BLT

นอกจากนี้ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินสถานีท่าพระ ยังเชื่อมต่อกับถนนและซอยต่าง ๆ ได้ อาทิ ทางออก 1 สามารถไปยังซอยเพชรเกษม 10/2 ทางออก 2A สามารถไปยังซอยเพชรเกษม 11 ทางออก 2B สามารถไปยังสำนักงานเขตบางกอกใหญ่, ซอยเพชรเกษม 15 ทางออก 3 สามารถไปยังซอยเพชรเกษม 12 และทางออก 4 สามารถไปยังซอยคริสจักรได้

ทางออกรถไฟฟ้าสถานีท่าพระ.jpgภาพประกอบจาก BLT

ข้อดี ในวันที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเปิดครบทุกสเตชั่น

1. ประชาชนเดินทางสะดวกสบาย รวดเร็ว
การมาถึงของรถไฟฟ้า สาย สีน้ำเงิน หรือ MRT สาย สีน้ำเงิน แน่นอนว่าส่งผลดีต่อการเดินทางของประชาชนย่านย่านจรัญสนิทวงศ์ บางขุนนนท์ บางพลัด ท่าพระ รวมถึงนักท่องเที่ยว ให้สามารถเดินทางไป–กลับ ระหว่างฝั่งธนบุรีกับฝั่งพระนคร หรือจะไปยังย่านที่มีอาคารสำนักงาน ย่านธุรกิจ ย่านบันเทิง ในใจกลางเมือง อีกทั้งยังเป็นการสร้างการเชื่อมต่อการเดินทางจากรถไฟฟ้า ไปสู่ท่าเรือ รถโดยสารสาธารณะ อาคารลานจอดแล้วจร เพื่อไว้รองรับรถยนต์ให้สะดวกต่อการเข้าถึงรถไฟฟ้า ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระบบ ล้อ ราง เรือ อย่างสมบูรณ์ ทำให้การเดินทางด้วยรถไฟฟ้า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย

2. ช่วยให้การท่องเที่ยวเติบโต
การมีรถไฟฟ้า สาย สีน้ำเงิน หรือ MRT สาย สีน้ำเงิน ทำให้พ่อค้าแม่ค้ามีอาชีพเป็นหลักแหล่ง เป็นการสร้างโอกาสด้านการค้าขาย หรือแม้กระทั่งกลุ่มผู้ซื้อก็มีตัวเลือกมากขึ้น นับว่าการมีรถไฟฟ้าสามารถปลุกการท่องเที่ยวให้เจริญเติบโตได้

3. ปรับปรุงทัศนียภาพและการจราจรโดยรอบ
ปรับปรุงพื้นผิวจราจร ตีเส้นจราจร และติดตั้งป้ายจราจรประเภทต่าง ๆ รวมถึงไฟส่องสว่างตามมาตรฐานที่กำหนดตามแนวสายทาง ได้แก่ ถนนเจริญกรุง ถนนสนามไชย ถนนประชาราษฎร์สาย 2 ถนนจรัญ–สนิทวงศ์ และถนนเพชรเกษม เพื่อให้ประชาชนใช้สัญจรได้โดยสะดวก ปลอดภัย และช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดในระหว่างการเดินทาง

4. เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประชาชน
รฟม. ได้ปลูกต้นไม้และจัดสวนสาธารณะตลอดแนวเกาะกลางใต้ทางวิ่งรถไฟฟ้า บริเวณแยกบรมราชชนนี เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และช่วยลดฝุ่นละออง PM 2.5 ตามนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองด้วย

5. เกิดการลงทุนที่มีมูลค่ามหาศาล
การลงทุนในที่นี้คือการมาของอาคารมิกซ์ยูส อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน อสังหาริมทรัพย์ โดยมีมูลค่าสูง และมีการลงทุนของเม็ดเงินมหาศาล ซึ่ง BC จะขอพูดถึงในบทความถัดไปครับ

ข้อดีของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน.jpg

ไม่เพียงแต่การมารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่จะเกิดความสะดวกสบายต่าง ๆ เท่านั้น หากมีไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ เปิดครบทุกเสตชั่น ก็จะยิ่งทำให้ความเป็นเมืองนำมาสู่ชุมชนมากขึ้น ทุกสิ่งทุกอย่างมีแนวโน้มว่าจะเป็นไปในทิศทางบวก ไม่ว่าจะเป็น การเดินทางที่สะดวกสบาย การท่องเที่ยวเติบโต ทัศนียภาพและการจราจรโดยรอบดีขึ้น พื้นที่พักผ่อนสีเขียวที่ทำให้เกิด Community และที่สำคัญคือการลงทุนโปรเจคต่าง ๆ ที่จะนำมาซึ่งเม็ดเงินมหาศาล ส่งเสริมเศรษฐกิจในประเทศ และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น

ข้อมูลและภาพประกอบจาก BLT
อ่านเพิ่มเติม