บทความ

วันที่ 12 กันยายน 2565

9 วิธีรับมือน้ำท่วม พร้อมแนะนำประกันภัยที่ครอบคลุมน้ำท่วม

9-วิธีรับมือน้ำท่วม-พร้อมแนะนำประกันภัยที่ครอบคลุมน้ำท่วม-(3).jpg

ในช่วงนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ฤดูของมรสุม หลายพื้นที่ต้องประสบภัยน้ำท่วมที่ไม่อาจคาดเดาเมื่อน้ำมาถึงได้ ฉะนั้น ต้องเตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับเหตุการณ์เฉพาะหน้าเมื่อน้ำท่วมบ้าน เพื่อป้องกันความเสียหายต่อทรัพย์สินที่จะเกิดขึ้นให้มากที่สุด

9 วิธีรับมือน้ำท่วม


9-วิธีรับมือน้ำท่วม-พร้อมแนะนำประกันภัยที่ครอบคลุมน้ำท่วม-(4).jpg

  1. เมมเบอร์ฉุกเฉิน เช่น ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) สายด่วนรับแจ้ง-เตือนภัยน้ำท่วม โทร. 1111 กด 5 หรือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สายด่วนแจ้งเตือนสาธารณภัย โทร. 1784 และให้ติดตามข่าวสถานการณ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง สามารถเช็กสถานการณ์น้ำด้วยตัวเองได้ที่แอปพลิเคชัน Thaiwater หรือเว็บไซต์ http://www.thaiwater.net/water/wl
  2. พื้นที่เสี่ยงสูง ควรเตรียมกระสอบทรายไว้ เพื่อทำผนังป้องกันน้ำไหลเข้าบ้าน
  3. นำเอกสารสำคัญใส่ไว้ในถุงซิปล็อก เช่น บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สูติบัตร ใบโฉนดที่ดิน เป็นต้น
  4. แขวนปลอกคอสัตว์เลี้ยงพร้อมชื่อและเบอร์โทรเราไว้ เผื่อน้องหลุดหายจะได้ประกาศหาได้ง่าย
  5. ชาร์จแบตโทรศัพท์ และเตรียมอุปกรณ์เสริมให้พร้อม เช่น พาวเวอร์แบงค์ สายชาร์จ ไฟฉาย
  6. ยกของขึ้นที่สูง เตรียมอาหารแห้ง น้ำดื่ม ยารักษา และอุปกรณ์ใช้พยุงตัว
  7. ถอดปลั๊กไฟในบ้าน แล้วแปะเทปกาวปิดปลั๊กไฟป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว
  8. นำรถยนต์ไปจอดในพื้นที่สูงหรือที่ปลอดภัย หรือใช้ถุงคลุมรถกันน้ำ ในกรณีที่น้ำท่วมไม่สูงมาก
  9. จัดการย้ายผู้ป่วย เด็ก คนชรา ไปยังพื้นที่ปลอดภัย หรือพื้นที่ของหน่วยงานที่รองรับ
แต่ภัยภิบัติธรรมชาติเหล่านี้ ถือเป็นสิ่งที่คาดเดาและควบคุมได้ยาก ดังนั้น จำเป็นต้องทำประกันภัยทรัพย์สินเอาไว้ เพื่อช่วยบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ตัวอย่าง จากเดิมที่เราจะต้องควักเงินตัวเองจ่าย 100% ก็อาจเหลือเพียง 20 – 30% ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของเราไปได้เยอะเลยทีเดียว

ประเภทของประกันภัย


ประกันภัย จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ประกันภัยบุคคล ประกันภัยทรัพย์สิน และประกันภัยความรับผิดตามกฎหมาย ซึ่งประกันที่เกี่ยวกับ “น้ำท่วม” จะอยู่ในหมวด “การประกันภัยทรัพย์สิน” ในเรื่องของ “การประกันอัคคีภัย” นั่นเอง

หากเรากู้เงินซื้อบ้านกับธนาคาร กฎหมายจะบังคับให้เราทำประกันอัคคีภัยเพื่อคุ้มครองความรับผิดชอบจากเหตุไม่คาดฝันในอนาคต และต้องทำจนครบจบอายุสัญญาสินเชื่อด้วย ซึ่งพื้นฐานของประกันอัคคีภัย จะครอบคลุมตั้งแต่ภัยจากไฟไหม้ ภัยจากฟ้าผ่า ภัยจากระเบิด ภัยจากยานพาหนะ ภัยจากอากาศยาน และภัยเนื่องจากน้ำ

ประกันภัยธรรมชาติ


นอกจากนี้ "ประกันอัคคีภัย" ยังครอบคลุมไปถึง "ภัยธรรมชาติ" ที่ขยายความคุ้มครองโดยไม่ต้องจ่ายเบี้ยประกันเพิ่มด้วย อาทิ ภัยจากลมพายุ ภัยจากน้ำท่วม ภัยจากแผ่นดินไหว และภัยจากลูกเห็บ ซึ่งประกันภัยธรรมชาตินี้ จะมีการจำกัดวงเงินไม่เกิน 20,000 บาท/ปีเท่านั้น ถ้าหากอยากได้วงเงินเพิ่ม ก็ต้องจ่ายเบี้ยประกันที่มากขึ้นตามแพคเกจบริษัทประกันนั้น ๆ กำหนด สามารถดูเงื่อนไข/องค์ประกอบอื่น ๆ ในการพิจารณารับประกันได้ที่บทความนี้ ประกันอัคคีภัยบ้าน และคอนโด ทำไมต้องซื้อ?

คุ้มครองตามสถานที่ตั้งของทรัพย์สิน


กรณีน้ำท่วม : พื้นที่รับน้ำหรือพื้นที่มีความเสี่ยงภัยน้ำท่วมสูง ได้แก่ อ่างทอง ลพบุรี นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ สิงห์บุรี และบางพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร จะพิจารณาความคุ้มครองเป็นกรณีไป โดยเฉพาะพื้นที่จุดไหนมีความเสี่ยงน้ำท่วมสูง เบี้ยประกันอาจสูงตามไปด้วย หรือหากเป็นพื้นที่ที่มีน้ำท่วมเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว อาจไม่ได้รับความคุ้มครองเลยก็มี

ประกันภัยน้ำท่วม.png

ตัวอย่างบริษัทประกันภัย ที่ขยายความคุ้มครองเรื่อง "น้ำท่วม"


ชื่อบริษัทประกันวงเงินขยายความคุ้มครองเพิ่มเติม
เฉพาะในหมวด "น้ำท่วม"
ทิพยประกันภัย30% ของทุนประกันภัย
(คุ้มครองหลังวันเริ่ม 7 วัน)
ไทยประกันภัย100,000 - 1,000,000
MSIG ประกันภัย10% ของทุนประกันภัย
และไม่เกิน 200,000
AXA ประกันภัย200,000
เมืองไทยประกันภัย200,000
TQM100,000 - 200,000
ANC100,000 - 200,000
Allianz Ayudhya5% ของทุนประกันภัย


ข้อควรระวังในการทำประกันภัย


หากทำประกันภัยทรัพย์สิน ประกันอัคคีภัย หรือประกันภัยน้ำท่วมแล้ว จะไม่สามารถทำมากกว่า 1 บริษัทได้ เพราะบริษัทประกันจะถือว่าเราทุจริตเพื่อรับเงินชดเชยจากหลาย ๆ แห่ง ซึ่งบริษัทประกันจะทำการตรวจสอบตั้งแต่แรกเริ่มที่จะทำประกันนั่นเอง


ที่มา Thinkofliving, Sale Here
อ่านเพิ่มเติม