บทความ

วันที่ 11 มีนาคม 2565

ขั้นตอนยื่นภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้ที่เข้าข่ายต้องยื่น การคำนวณภาษีเงินได้

ขั้นตอนยื่นภาษีคริปโท.jpg

สำหรับใครที่มีการลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัลต่าง ๆ เช่น บิตคอยน์ หากมีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปี กรมสรรพากรกำหนดไว้ว่ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ต่างจากเงินได้ประเภทอื่น ๆ ดังนั้น BC จะพาไปดูเกณฑ์ผู้ที่เข้าข่ายการยื่นภาษี การคำนวณเงินได้ และขั้นตอนการยื่นภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล โดยอ้างอิงตามกฎหมายปัจจุบันครับ

กิจกรรมแบบไหนต้องเสียภาษีคริปโท


ลักษณะของกิจกรรมเมื่อไหร่ถึงรับรู้ว่าเป็นเงินได้ยอดที่นำมาคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษี
1. ขายคริปโทฯ เป็นเงินสดณ วันและเวลาที่ขายคริปโทฯ เป็นเงินกำไรส่วนเกินทุนของเหรียญที่ขาย
2. แลกเหรียญคริปโทฯ สกุลเงินหนึ่งเป็นอีกสกุลหนึ่งณ วันและเวลาที่แลกคริปโทฯ เป็นเหรียญสกุลอื่นกำไรส่วนเกินทุนของเหรียญที่แลกเปลี่ยน
3. ใช้คริปโทฯ ซื้อสินค้าหรือจ่ายค่าบริการณ วันและเวลาที่ชำระด้วยคริปโทฯกำไรส่วนเกินทุนของเหรียญที่ใช้ซื้อสินค้า หรือจ่ายค่าบริการ
4. รับชำระค่าสินค้า / บริการด้วยคริปโทฯณ วันและเวลาที่ได้รับมูลค่าของคริปโทฯ ที่ได้รับทั้งจำนวน
5. ได้รับคริปโทฯ ฟรีจาก Air Drop หรือรางวัลณ วันและเวลาที่ได้รับมูลค่าของคริปโทฯ ที่ได้รับทั้งจำนวน
6. ได้รับคริปโทฯ ฟรีจากบุพการี คู่สมรส หรือผู้สืบสันดานณ วันและเวลาที่ได้รับมูลค่าของคริปโทฯ ที่ได้รับ เฉพาะกรณีมูลค่าคริปโทฯ เกิน 20 ล้าน
7. ได้รับคริปโทฯ ฟรีจากญาติ เพื่อน หรือคนรู้จักณ วันและเวลาที่ได้รับมูลค่าของคริปโทฯ ที่ได้รับ เฉพาะกรณีมูลค่าคริปโทฯ เกิน 10 ล้าน
8. ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการถือ Token เช่น Rewards เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไรณ วันและเวลาที่ได้รับมูลค่าของคริปโทฯ ที่ได้รับทั้งจำนวน
9. นำคริปโทฯ ไป Stake แล้วได้ Rewards เป็นเหรียญคริปโทฯ เพิ่มจาก DeFi รูปแบบต่าง ๆ เช่น Yield Farming หรือ Stakingณ วันและเวลาที่ได้รับมูลค่าของคริปโทฯ ที่ได้รับทั้งจำนวน
10. ขุดคริปโทฯ (Mining)เมื่อนำเหรียญที่ได้รับจากการขุดไป "ขาย" หากยังไม่ขายเหรียญที่ขุดยังไม่ต้องเสียภาษีกำไรส่วนเกินทุนของเหรียญที่ขาย
11. ขาย NFTณ วันและเวลาที่ขาย NFT เป็นเงิน หรือแลกเปลี่ยน NFT เป็นเหรียญอื่นกรณีเป็น Trader: กำไรส่วนเกินทุนของ NFT ที่ขาย

กรณีผู้สร้างสรรค์: เงินหรือมูลค่าของคริปโทฯ ที่ได้รับ โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายตามจริงได้ 
12. ผลประโยชน์ที่ได้รับจาก GameFiณ วันและเวลาที่ได้รับมูลค่าของคริปโทฯ ที่ได้รับทั้งจำนวน


ข้อสังเกต
  • หากผู้เสียภาษีมีหลาย Wallet จึงโอนเหรียญคริปโทฯ จาก Wallet หนึ่งไปอีก Wallet หนึ่งที่ตัวเองเป็นเจ้าของไม่ต้องเสียภาษีเพราะไม่เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนแต่อย่างใด
  • กรณีขุดคริปโทฯ (Mining) ขณะที่ขุดได้เหรียญมา จะยังไม่ต้องเสียภาษี เนื่องจากกรมสรรพากรจะพิจารณาว่าเป็นเงินได้ เมื่อขายเหรียญที่ได้มาจากการขุดเท่านั้น
  • กรมสรรพากร กำหนดให้ประเมินมูลค่าเหรียญคริปโทฯ ตามมูลค่า ณ เวลาที่ได้มา (Spot Rate) หรือราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้มา ซึ่งเป็นราคาอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น ราคาที่ประกาศโดย Exchange ที่จัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์ของ กลต. เป็นต้น
  • กรณีที่มีการซื้อขายเหรียญในต่างประเทศเป็นเงินตราสกุลอื่น เมื่อถึงเวลาต้องยื่นภาษี ให้แปลงเป็นสกุลเงินบาท โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารพาณิชย์ในแต่ละวัน (อัตราซื้อหรืออัตราขาย) หรืออัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารแห่งประเทศไทยในแต่ละวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยหรืออัตราขายถัวเฉลี่ย) ก็ได้

หลักการคำนวณกำไรเพื่อเสียภาษีคริปโทฯ


ขั้นตอนยื่นภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล.png

การคำนวณกำไรจะคำนวณเป็น “รายธุรกรรม” ทุกครั้งที่ขายหรือแลกเปลี่ยนโดยคำนวณจาก

ราคาขาย - ต้นทุน ของแต่ละธุรกรรม = กำไรเพื่อเสียภาษีคริปโท

ดังนั้น ผู้เสียภาษีจึงจำเป็นต้องเข้าใจวิธีคิดต้นทุนและราคาขายของแต่ละธุรกรรม เพื่อให้สามารถคำนวณภาษีคริปโทได้อย่างถูกต้อง

วิธีคิดต้นทุน สำหรับคำนวณภาษีคริปโทฯ


กรมสรรพากร อนุโลมให้คิดต้นทุนของคริปโทฯ โดยนำค่าซื้อ และค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งคริปโทฯ / โทเคนดิจิทัล มารวมเป็นต้นทุนได้ เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าโอน เป็นต้น โดยราคาทุนนั้นจะมีวิธีคิดที่แตกต่างกันตามแต่วิธีที่ได้มา ซึ่งสามารถแยกได้ดังนี้

วิธีการได้เหรียญคริปโทฯฐานสำหรับคำนวณต้นทุนของเหรียญเมื่อขาย
ซื้อด้วยเงินสด (Fiat)มูลค่าของเหรียญขณะซื้อมา
แลกด้วยเหรียญคริปโทฯมูลค่าของเหรียญขณะแลกมา
นำสินค้าหรือบริการไปแลกเหรียญมามูลค่าของเหรียญขณะได้มา
ได้จาก DeFi เช่น Yield Farming หรือ Stakingมูลค่าของเหรียญขณะได้มา
ได้ฟรีจาก Air Drop หรือได้เป็นรางวัลมูลค่าของเหรียญขณะได้มา
ได้ฟรีจากการให้เปล่าโดยเสน่หาโดยคนรู้จักถือว่าไม่มีต้นทุน หรือให้ใช้ต้นทุนเดิมของผู้รับ หากพิสูจน์ได้
ได้จากการขุด (Mining)ต้นทุนการขุด และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าอุปกรณ์ ค่าไฟ ค่าอินเตอร์เน็ต โดยให้เฉลี่ยตามจำนวนเหรียญที่ขุดได้


ข้อสังเกต
ค่าซื้อที่จะนำมาใช้เป็นต้นทุนให้คำนวณเป็นเงินบาท ณ ขณะที่ขายหรือแลกเปลี่ยนนั้น (Spot Rate) หรือราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้มา ซึ่งเป็นราคาอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือจากประกาศโดย Exchange ที่จัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์ของ กลต. เป็นต้น

การเลือกวิธีคำนวณต้นทุนภาษีคริปโทฯ

กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้เสียภาษีต้องเลือกวิธีคำนวณต้นทุนสำหรับคำนวณกำไรเพื่อเสียภาษีในแต่ละปีโดยวิธีดังต่อไปนี้
  1. ต้นทุนแบบเข้าก่อน-ออกก่อน (First-in, First-out)
  2. ต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Cost)

ทั้งนี้ หากปีภาษีนั้นเลือกวิธีคำนวณต้นทุนแบบใด ต้องใช้แบบนั้นตลอดทั้งปี แต่ถ้าขึ้นปีภาษีใหม่จะสามารถเลือกใช้วิธีคำนวณต้นทุนแบบเดิม หรือเปลี่ยนวิธีใหม่ก็ได้

1. ต้นทุนแบบเข้าก่อน - ออกก่อน (First-in, First-out: FIFO)


ต้นทุนแบบเข้าก่อน - ออกก่อน หรือ First-in, First-out (FIFO) หมายความว่า กรณีมีเหรียญคริปโทฯ สกุลเดียวเข้ามาในกระเป๋าหลายครั้ง แต่ได้มีการขายออกไป จะให้ถือว่านำเหรียญคริปโทฯ ที่ได้มาก่อน (First-in) เป็นกลุ่มที่ถูกขายออกไปก่อน (First-out) เสมอ จึงให้ใช้ราคาต้นทุนของเหรียญที่ได้มาช่วงแรกสุดที่เหลืออยู่ สำหรับคำนวณเป็นต้นทุน

เช่น นาย A ซื้อ BTC มา 5 ครั้ง ในราคาต่อไปนี้

ครั้งแรก ซื้อ 1 BTC ราคา 100,000 บาท (รวมค่าธรรมเนียมแล้ว)
ครั้งสอง ซื้อ 1 BTC ราคา 200,000 บาท (รวมค่าธรรมเนียมแล้ว)
ครั้งสาม ซื้อ ซื้อ 1 BTC ราคา 300,000 บาท (รวมค่าธรรมเนียมแล้ว)

รวม ตอนนี้ถือ 3 BTC แล้วต่อมาได้ขาย BTC จำนวน 1 เหรียญ ในราคา 200,000 บาท

วิธีคิดตำนวนต้นทุนแบบเข้าก่อน - ออกก่อน (First-in, First-out: FIFO) โดยราคาต้นทุน BTC ที่จะใช้คือราคาที่ซื้อ BTC ครั้งแรกเป็นเงิน 100,000 บาท

200,000 ราคาขาย - 100,000 ราคาต้นทุนแบบ FIFO = กำไรที่ได้จากคริปโท

ดังนั้น เมื่อขาย BTC จำนวน 1 เหรียญ ในราคา 200,000 บาท โดยเลือกขาย BTC ที่ซื้อมาครั้งแรกออกไปก่อน จึงเท่ากับว่ามีกำไร 100,000 บาท ซึ่งจะนำกำไรส่วนนี้ไปเสียภาษีต่อไป

2. ต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Cost)


ต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่หมายความว่ากรณีได้เหรียญคริปโทฯ สกุลเดียวกันมาหลายครั้งให้นำต้นทุนมาถัวเฉลี่ยใหม่ทุกครั้ง เพื่อคำนวณเป็นต้นทุนสำหรับเหรียญคริปโทฯ สกุลนั้นที่ตัวเองมีทั้งหมด

เช่น ซื้อ BTC มา 3 ครั้ง ในราคาต่อไปนี้

ครั้งแรก ซื้อ 1 BTC ราคา 500,000 บาท (รวมค่าธรรมเนียมแล้ว)
ครั้งสอง ซื้อ 1 BTC ราคา 300,000 บาท (รวมค่าธรรมเนียมแล้ว)
ครั้งสาม ซื้อ 1 BTC ราคา 100,000 บาท (รวมค่าธรรมเนียมแล้ว)

รวม ตอนนี้ถือ 3 BTC ต่อมาตัดสินใจขาย BTC จำนวน 1 BTC ในราคา 500,000 บาท

วิธีคำนวณต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Cost) ราคาต้นทุน BTC ที่จะใช้คือราคาถัวเฉลี่ยของ BTC ที่ซื้อมา 3 ครั้ง เท่ากับว่ามี 3 BTC รวมเป็นเงิน 900,000 บาท

ราคาทุน 900,000 ÷ 3 = 300,000 บาท (คือทุนที่ถัวเฉลี่ยได้)

ดังนั้น เมื่อขาย 1 BTC ในราคา 500,000 บาท ทำให้มีกำไร 200,000 บาท เพื่อนำไปเสียภาษีต่อไป (ราคาขาย 500,000 - ราคาทุนถัวเฉลี่ย 300,000)

และยังมี BTC คงเหลือจำนวน 2 BTC ซึ่งมีต้นทุนถัวเฉลี่ย 1 BTC = 200,000 บาท จึงคิดเป็นต้นทุนรวมของ 2 BTC = 400,000 บาท

ต่อมา ได้ซื้อเพิ่ม 1 BTC ในราคา 200,000 บาท (รวมค่าธรรมเนียม) จึงต้องคำนวณต้นทุนถัวเฉลี่ยใหม่อีกครั้งได้ดังนี้

คงเหลือ 2 BTC ต้นทุนถัวเฉลี่ยรวม 400,000 บาท
ซื้อเพิ่ม 1 BTC ราคา 200,000 บาท

สูตรคำนวณต้นทุนถัวเฉลี่ยใหม่ = ต้นทุน 400,000 + 200,000 ÷ 3 = 300,000 บาท

ข้อสังเกต
หากมีเหรียญคริปโทที่คงเหลือ ณ วันสิ้นปี ให้นำมูลค่าต้นทุนคงเหลือยกไปคำนวณภาษีรวมกับปีถัดไป เช่น ซื้อ 1 BTC มาในราคา 200,000 บาท (รวมค่าธรรมเนียม) หากปีนี้ยังไม่ได้ขาย BTC เท่ากับว่าต้นทุนคงเหลืออยู่ที่ 200,000 บาทเท่าเดิม

วิธีคิดราคาขายสำหรับคำนวณภาษีคริปโทฯ


ขั้นตอนยื่นภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล_ขั้นตอนคิดราคาขาย.png

ราคาขายจะคิดจากราคาที่คำนวณได้เป็นเงินบาท ณ ขณะที่ขายหรือแลกเปลี่ยน (Spot Rate) หรือราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้มา ซึ่งเป็นราคาอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น ราคาที่ประกาศโดย Exchange ที่จัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์ของ กลต. เป็นต้น

นอกจากนั้น หากเป็นธุรกรรมที่ใช้เหรียญคริปโทฯ ในการแลกเปลี่ยนกับสินค้า บริการ ทรัพย์สิน หรือเหรียญคริปโทฯ อื่น ก็ให้จัดว่าเป็นการขายด้วย จึงจำเป็นต้องนำมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่ได้รับแลกเปลี่ยนนั้นมาคำนวณภาษี เช่น ใช้คริปโทฯ ซื้อโครงการบ้านเดี่ยว เป็นต้น

วิธีการที่ขาย / จำหน่าย / โอนเหรียญคริปโทฯราคาขายที่ใช้คำนวณกำไร
ขายเป็นเงินสด (Fiat)มูลค่าของเหรียญขณะที่ขายไป
แลกกับเหรียญคริปโทฯมูลค่าของเหรียญที่แลกมา
แลกกับสินค้าหรือบริการมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่ได้รับ
ให้เปล่าโดยเสน่หาแก่คนรู้จัก โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนไม่มีเงินได้ ยังไม่ต้องเสียภาษี


การคำนวณกำไรจากเหรียญดิจิทัล กรณีซื้อขายใน Exchange ไทย

กำไรจากการขายคริปโทฯ จะคิดเป็น ”รายธุรกรรม” และสามารถนำผลขาดทุนระหว่างปีมาหักออกจากกำไรระหว่างปีได้ ซึ่งเป็นสิทธิ์ที่ผู้เสียภาษีจะได้รับ ต่อเมื่อทำธุรกรรมผ่าน Exchange ในกำกับของ กลต.เท่านั้น (รอประกาศเป็นกฎกระทรวง)

เช่น ได้กำไร 10,000 บาท จากธุรกรรมแรก แต่ขาดทุน 1,000 บาท จากธุรกรรมที่สอง ผู้เสียภาษีสามารถนำผลขาดทุน 1,000 บาท จากธุรกรรมที่สองมาหักออกจากกำไร 10,000 บาท จากธุรกรรมแรกได้

ตัวอย่าง
ซื้อ BTC จำนวน 500,000 บาท จากนั้นได้ขาย BTC ในกระดานเทรดทั้งหมดเป็นเงิน 1,000,000 บาท ได้กำไรเป็นเงินจำนวน 500,000 บาท แต่ยังไม่ได้ถอนออกมาเป็นเงินสด (Fiat Currency) ให้ถือว่ากำไรส่วนนั้นเป็นเงินที่ต้องเสียภาษี

ต่อมานำเงินที่ขาย BTC จำนวน 500,000 บาทก้อนเดิมไปซื้อ BTC อีกครั้ง แต่มูลค่าของเหรียญลดลงเหลือ 450,000 บาท จึงขายออกมาเป็นเงินสด (Fiat Currency) ทำให้ขาดทุน 50,000 บาท

จากตัวอย่างข้างต้น ธุรกรรมแรกมีกำไร 500,000 บาท และธุรกรรมที่สองขาดทุน 50,000 บาท เมื่อทั้ง 2 ธุรกรรมได้เกิดขึ้นภายในปีเดียวกัน สามารถนำผลที่ขาดทุน 50,000 บาทของธุรกรรมที่ 2 มาหักลบจากกำไรของธุรกรรมแรกได้ ทำให้สุดท้ายไม่เหลือกำไรที่ต้องนำมาเสียภาษี

ข้อสังเกต
  • แม้จะขาดทุนจากเหรียญสกุลหนึ่งก็สามารถนำผลขาดทุนจากเหรียญสกุลนั้นมาหักลบออกจากกำไรของเหรียญต่างสกุลได้ แต่ต้องทำธุรกรรมผ่าน Exchange ในกำกับของ กลต. เช่น หากขาดทุนจากการขายเหรียญ BTC 50,000 บาท แต่ได้กำไรจากการขายเหรียญ ETH 20,000 บาท สามารถนำผลขาดทุนของ BTC มาหักลบจากกำไร ETH ได้ ส่งผลให้ระหว่างปี มีกำไรที่ต้องเสียภาษีเพียง 30,000 บาทเท่านั้น (กำไร ETH - ขาดทุน BTC 50,000)
  • กรณีมูลค่าเหรียญมีทศนิยมหลายตำแหน่ง เช่น AXS ราคา 1,632.1234 บาท เมื่อคำนวณกำไรขาดทุนระหว่างปีจะคำนวณเป็นรายธุรกรรม โดยใช้ทศนิยมหลายตำแหน่งได้ จากนั้นจึงค่อยนำกำไรสุดท้ายที่ปัดเศษทศนิยมสองตำแหน่งแล้วมากรอกแบบฯ เพื่อเสียภาษี


รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Exchange) จาก กลต. มีดังต่อไปนี้


  1. บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด - BITKUB.com
  2. บริษัท สตางค์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด - satang.pro
  3. บริษัท หั่วปี้ (ประเทศไทย) จำกัด​ - ​huobi.co.th
  4. บริษัท อีอาร์เอ็กซ์ จำกัด - er-x.io
  5. บริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด - ​zipmex.com/th
  6. บริษัท อัพบิต เอ็กซ์เชนจ์ (ประเทศไทย) จำกัด - ​th.up​bit.com
  7. ​บริษัท จีเอ็มโอ-แซด.คอม คริปโทนอมิคซ์ (ประเทศไทย) จำกัด - ​ex.z.com​
  8. บริษัท หลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด - ​​​scbs.com

ข้อสังเกต
  • กรณีซื้อ - ขาย Exchange บนกระดานต่างประเทศ หรือด้วยวิธีการ P2P (Peer-to-Peer Lending) จะไม่สามารถนำเงินที่ขาดทุนมาหักออกจากกำไรระหว่างปีได้ และต้องนำกำไรรวมทั้งหมดมาคิดเป็นเงินได้
  • การโอนคริปโทฯ ให้เพื่อนจำนวนไม่เกิน 10 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษีทั้งผู้ให้และผู้รับ แต่ทันทีที่เพื่อนขายคริปโทฯ นั้น เป็นเงินสด (Fiat Currency) หรือแลกเปลี่ยนกับสินค้าหรือบริการ เพื่อนจะต้องเป็นผู้เสียภาษีจากมูลค่าที่ขายหรือแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน เนื่องจากเพื่อนได้คริปโทฯ มาโดยไม่มีต้นทุน

การหักภาษี ณ ที่จ่ายของเหรียญดิจิทัล


ตามข้อกำหนดของกรมสรรพากรนั้น กำหนดไว้ว่า ให้ผู้ซื้อคริปโทฯ หรือผู้จ่ายผลประโยชน์ในรูปแบบเหรียญคริปโทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% หากครบองค์ประกอบต่อไปนี้

  1. ทราบตัวผู้รับเงิน (ผู้ขาย) ว่าเป็นใคร
  2. ทราบจำนวนเงินที่แน่นอนว่าเป็นเงินได้ (กำไร) ของผู้ขายจำนวนเท่าไหร่

กรณีที่เป็นผู้ซื้อที่ไม่ทราบว่าผู้ขายอีกฝ่ายเป็นใคร และไม่ทราบว่าผู้ขายมีกำไรจากการขายเป็นเงินจำนวนเท่าใด กรมสรรพากรอนุโลมให้ผู้ซื้อไม่ต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย เนื่องจากเป็นการจับคู่ผ่านระบบของ Exchange อัตโนมัติ

การคำนวณภาษีเงินได้แยกตามกิจกรรมการเทรด


1. ขายคริปโทฯ เป็นเงินสด (Fiat Currency)


ขั้นตอนยื่นภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล_ขายคริปโทเป็นเงินสด.png

การขายคริปโทฯ เป็นเงินสด จะคำนวณเป็นเงินได้จากกำไร คิดเป็นรายธุรกรรม ซึ่งเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ฌ) เพื่อเสียภาษีประจำปีโดยขณะยื่นภาษีให้ระบุชื่อประเภทของรายได้ว่า “ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทฯ หรือโทเคนดิจิทัล”

ดังนั้น เมื่อขายแต่ละครั้งจึงจำเป็นต้องทราบต้นทุนของเหรียญที่ขาย เพื่อคำนวณกำไรที่เกิดขึ้นในแต่ละธุรกรรม

แต่ถ้าเกิดธุรกรรมการขายเหรียญคริปโทฯ และได้กำไรเป็นเงินสด (Fiat Currency) จากต้นทุนของเหรียญ โดยที่เงินสด (Fiat Currency) นั้นยังอยู่ในกระเป๋าดิจิทัล ให้นับว่ากำไรดังกล่าวเป็นเงินได้ในปีนั้นทันที แม้ว่าจะยังไม่ได้โอนกำไรดังกล่าวออกมาใช้จ่ายก็ตาม

ข้อสังเกต
การขายเหรียญที่มีมูลค่าค่อนข้างคงที่ หรือ Stable Coin เป็นเงินสด (Fiat Currency) เช่น ขาย USDT เป็นเงินสด ต้องนำยอดกำไรจากธุรกรรมนั้น มาหักลบกับต้นทุนของเหรียญ USDT เพื่อความถูกต้องในการคำนวณภาษี

2. การแลกเปลี่ยนคริปโทฯ หนึ่ง ไปเป็นอีกสกุลหนึ่ง


ขั้นตอนยื่นภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล_แลกเปลี่ยนเป็นเหรียญอีกสกุลหนึ่ง.png

การแลกเปลี่ยนคริปโทฯ หนึ่งไปเป็นอีกสกุลหนึ่ง เช่น ถือ Bitcoin (BTC) แล้วนำไปแลกกับ Ethereum (ETH) ต้องคำนวณ “กำไร” เป็น “เงินได้” ตามมาตรา 40(4)(ฌ) เพื่อเสียภาษีประจำปี โดยขณะยื่นภาษีให้ระบุชื่อประเภทของรายได้ว่า “ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซี หรือโทเค็นดิจิทัล”

การคำนวณกำไรจะคิดเป็น “รายธุรกรรม” ดังนั้น เมื่อเกิดการแลกเปลี่ยนแต่ละครั้ง จึงจำเป็นต้องทราบ “ต้นทุนของเหรียญที่แลกไป เช่น BTC” และ “มูลค่าของเหรียญที่ได้แลกมา เช่น ETH” เพื่อคำนวณกำไรที่เกิดขึ้นในแต่ละธุรกรรม

ทั้งนี้ เมื่อเกิดธุรกรรมแลกเปลี่ยนคู่เหรียญกัน เช่น นำ Bitcoin (BTC) ไปแลกกับ Ethereum (ETH) แต่มูลค่าของ ETH สูงกว่าต้นทุนของ BTC ในตอนที่ซื้อมา จึงรับรู้ได้ว่า กำไรดังกล่าวเป็นเงินได้ในปีนั้นทันที แม้ว่าจะยังไม่ได้ขายเหรียญดังกล่าวเป็นเงินสด (Fiat Currency) ก็ตาม

ตัวอย่าง
ซื้อ Bitcoin มา 1 เหรียญ ในราคา 1 ล้านบาท หลังจากนั้นราคาตลาดของ Bitcoin ขึ้นเป็น 1.5 ล้านบาท

ต่อมาได้นำ Bitcoin 1 เหรียญ ไปแลกเป็น 1 Ethereum ในราคา 1.5 ล้านบาท บน Exchange

ให้นับว่าธุรกรรมแบบนี้ เกิดการแลกเปลี่ยนจากเหรียญในมือไปเป็นอีกเหรียญหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเราซื้อ Bitcoin (BTC) ในราคาทุน 1 ล้านบาท แต่สามารถนำ Bitcoin ไปแลกเป็นจำนวน 10 Ethereum (ETH) ที่มีมูลค่า 1.5 ล้านบาทได้ หมายความว่า เจ้าของ Bitcoin ผู้นั้น จะมีกำไร 500,000 บาท จากการนำ 1 Bitcoin ที่ตัวเองเก็บมาได้ 1 ล้านบาท ไปแลกเป็นจำนวน 10 Ethereum ที่มีมูลค่า 1.5 ล้านบาท ได้สำเร็จ

ข้อสังเกต
  • หากใช้วิธีอ้างอิงราคา ณ ขณะที่แลกเปลี่ยนคู่เหรียญ สามารถอ้างอิงแบบฯ ณ เวลาที่แลกเปลี่ยนหรือราคาถัวเฉลี่ยของเหรียญที่แลกมา โดยอาศัยข้อมูลราคาอ้างอิงที่น่าเชื่อถือที่ประกาศโดย Exchange ที่จัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์ของ กลต. ก็ได้ แต่เมื่อเลือกแล้วว่าจะใช้ราคาอ้างอิงแบบ Spot Rate หรือราคาถัวเฉลี่ยแล้ว ต้องใช้วิธีนั้นตลอดทั้งปี
  • การแลกเปลี่ยนเหรียญคริปโทฯ เป็นเหรียญที่มีมูลค่าค่อนข้างคงที่ หรือ Stable Coin เช่น แลกเหรียญ BTC เป็น USDT นับว่าเป็นธุรกรรมที่ทำให้ต้องคำนวณกำไรด้วยเช่นกัน แม้ว่าจะยังไม่ได้ขายเหรียญออกมาเป็นเงินสด (Fiat Currency) เลยก็ตาม

3. ใช้เหรียญคริปโทฯ ซื้อสินค้า หรือจ่ายค่าบริการ


ขั้นตอนยื่นภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล_ใช้เหรียญจ่ายซื้อสินค้าหรือบริการ.png

การใช้เหรียญครอปโทฯ ซื้อสินค้า ก็อาจมีกำไรซึ่งเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ฌ) ซึ่งต้องนำไปเสียภาษีเงินได้ โดยขณะยื่นภาษีให้ระบุชื่อประเภทของรายได้ว่า “ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทฯเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล”

ตัวอย่าง
ซื้อ Bitcoin จำนวน 1 BTC ในราคา 1 ล้านนบาท ต่อมาราคาตลาดของ Bitcoin ขึ้นเป็น 1.5 ล้านบาท เราจึงนำ 1 BTC ไปแลกซื้อบ้านเดี่ยว 1 หลัง ในราคา 1.5 ล้านบาท กับบริษัทขายบ้าน

ธุรกรรมแบบนี้ เท่ากับว่าเราได้กำไรจาก Bitcoin จำนวน 5 แสนบาท จึงต้องนำกำไรไปเสียภาษีเงินได้นั่นเอง

ข้อสังเกต
  • ปัจจุบัน ทั้ง กลต. และธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่สนับสนุนให้นำเหรียญคริปโทฯ มาใช้ซื้อสินค้า หรือชำระค่าบริการ อย่างไรก็ตาม หลักการดังกล่าวไม่ทำให้ผลลัพธ์ทางภาษีคริปโทฯ เปลี่ยนแปลงไป
  • กรณีที่ซื้อคริปโทฯ มาในราคาสูงกว่าสินค้าหรือบริการที่ได้ไปแลกมา เช่น นำ Bitcoin ที่ซื้อมา 1 ล้านบาท ไปแลกกับกระเป๋าแบรนด์ราคา 8 แสนบาท ไม่สามารถนำผลขาดทุนจำนวน 2 แสนบาท ไปหักลบจากกำไรที่เกิดขึ้นระหว่างปีได้ เนื่องจากไม่ได้แลกเปลี่ยนบน Exchange ที่กลต. กำกับ
  • ปัจจุบัน มีร้านค้าจำนวนมากที่รับชะรำค่าสินค้าหรือบริการเป็นคริปโทฯ โดยให้ลูกค้าขายคริปโทฯ ออกมาเป็นเงินบาทตามมูลค่า ณ ขณะที่กำลังจะซื้อสินค้า แล้วจึงโอนเงินบาทที่ได้มาให้ร้านค้าผู้ขาย ดังนั้น ถึงแม้จะขาดทุนจากการขายคริปโทฯ ลูกค้าก็สามารถนำส่วนต่างที่ขาดทุนมาหักลบกับกำไรระหว่างปีก่อนเสียภาษีได้ แต่ต้องเป็นการขายบน Exchange ที่ กลต. กำกับเท่านั้น

4. รับชำระค่าสินค้า/บริการด้วยคริปโทเคอร์เรนซี


ขั้นตอนยื่นภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล_รับชำระค่าสินค้าหรือบริการ.png

หากรับชำระค่าสินค้า บริการ หรือการจ่ายเงินเดือน ด้วยคริปโทเคอร์เรนซี จะถูกจัดเป็นเงินได้ตามแต่ลักษณะของสินค้าหรือบริการที่ขาย ซึ่งผู้รับชำระต้องนำมูลค่าเหรียญคริปโทฯ ที่ได้รับไปเสียภาษีเงินได้ ตามปกติของการชำระภาษีด้วยเงินบาททั่วไป

ตัวอย่าง
  • พนักงานประจำ รับเงินเดือนเป็น เหรียญคริปโทฯ - เป็นเงินได้ตามมาตรา40 (1)
  • ฟรีแลนซ์ รับค่าจ้างเป็นเหรียญคริปโทฯ - เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1)
  • นักเขียน รับค่าลิขสิทธิ์เป็นเหรียญคริปโทฯ - เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(3)
  • เจ้าของคอนโด ให้เช่ารับค่าเช่าเป็นเหรียญคริปโทฯ - เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(5)
  • สถาปนิก รับค่าออกแบบเป็นเหรียญคริปโทฯ - เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(6)
  • ผู้รับเหมาก่อสร้าง รับค่ารับเหมาก่อสร้างเป็นเหรียญคริปโทฯ - เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(7)
  • ร้านกาแฟ รับค่ากาแฟเป็นเหรียญคริปโทฯ - เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8)

ข้อสังเกต
  • ปัจจุบัน ทั้ง กลต. และธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่สนับสนุนให้นำเหรียญคริปโทฯ มาใช้ชำระค่าสินค้า หรือค่าบริการ อย่างไรก็ตาม หลักการดังกล่าวไม่ทำให้ผลลัพธ์ทางภาษีคริปโทฯ เปลี่ยนแปลงไป
  • เมื่อได้รับเหรียญคริปโทฯ มาแล้ว จะกำหนดให้ต้นทุนของเหรียญที่ได้รับเท่ากับมูลค่าของสินค้าหรือบริการ เช่น ถ้าได้รับชำระค่าบริการเป็น Bitcoin จำนวน 1 BTC ราคา 1 ล้านบาท ก็จะใช้มูลค่า 1 ล้านบาท เป็นต้นทุนสำหรับคำนวณกำไร หากนำ BTC ดังกล่าว ไปขายหรือแลกเปลี่ยนในอนาคต

5. ได้เหรียญคริปโทฯ ฟรี จาก Air Drop หรือได้รับเป็นรางวัล


ขั้นตอนยื่นภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล_ได้จาก-Air-Drop.png

เหรียญคริปโทฯ ที่ได้มาฟรีจาก Air Drop หรือได้รับเป็นรางวัล นับว่าเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) ซึ่งต้องนำเงินได้ไปเสียภาษี ทั้งครึ่งปีและประจำปี โดยขณะยื่นภาษีให้ระบุชื่อประเภทของรายได้ว่า “ได้รับคริปโทเคอร์เรนซี / โทเคนดิจิทัลจากการให้ หรือได้รับเป็นรางวัล”

ตัวอย่าง 
ได้รับ Steble Coin 3 USDT จากการร่วมกิจกรรมส่งเสริมการขายของ Exchange ให้นำมูลค่าของ USDT ณ ขณะที่ได้รับ มาคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษี ดังนั้น หากขณะที่ได้รับ 3 USDT นั้น ราคาตลาดของ 1 USDT เท่ากับ 33.22 บาท จะเท่ากับว่ามูลค่า USDT 33.22 x 3 USDT = 99.66 บาท

ดังนั้น ต้องนำนำมูลค่าของ 3 USDT จำนวน 99.66 บาท ไปคำนวณภาษีจากกำไรต่อไป

ข้อสังเกต
  • หากใช้วิธีอ้างอิงราคา ณ ขณะที่แลกเปลี่ยนคู่เหรียญ สามารถอ้างอิงแบบฯ ณ เวลาที่แลกเปลี่ยนหรือราคาถัวเฉลี่ยของเหรียญที่แลกมา โดยอาศัยข้อมูลราคาอ้างอิงที่น่าเชื่อถือที่ประกาศโดย Exchange ที่จัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์ของ กลต. ก็ได้
  • เมื่อเลือกแล้วว่าจะใช้ราคาอ้างอิงแบบ Spot Rate หรือราคาถัวเฉลี่ยแล้ว ต้องใช้วิธีนั้นตลอดทั้งปี

6. ได้เหรียญคริปโทฯ ฟรี จากบุพการี คู่สมรส หรือผู้สืบสันดาน


ขั้นตอนยื่นภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล_ได้จากบุพการี.png

กรมสรรพากร กำหนดให้เหรียญคริปโทฯ ที่ได้มาฟรี ต้องมาจากบุคคลต่อไปนี้

  1. บุพการี เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย
  2. คู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสแล้ว หรือ
  3. ผู้สืบสันดาน เช่น ลูก หลาน

หากได้รับเหรียญคริปโทฯ มาฟรี จากบุพการี คู่สมรส หรือผู้สืบสันดาน จะต้องนำจำนวนมูลค่าของเหรียญที่ได้รับไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภายในปีภาษีนั้น โดยต้องเสียภาษีการรับให้เฉพาะส่วนเกิน 20 ล้านบาท ในอัตรา 5% เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) โดยยื่นภาษีให้ระบุชื่อประเภทของรายได้ว่า “เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะ / จากการให้โดยเสน่หาจากบุพการีตามมาตรา 42(27)”

ดังนั้น หากได้รับเหรียญคริปโทฯ ไม่เกิน 20 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และ เนื่องจากได้มาฟรี ให้นับว่าเหรียญนี้มีต้นทุน 0 บาท หรือหากพิสูจน์ต้นทุนจากผู้ให้ได้ ก็สามารถนำต้นทุนเดิมของผู้ให้มาใช้เป็นต้นทุนของผู้รับได้ เพื่อที่ว่าหากมีการนำเหรียญไปขายในอนาคต ให้นำกำไรส่วนนี้ไปคำนวณสำหรับเสียภาษีในปีนั้น

ตัวอย่าง
คุณพ่อ ให้เหรียญ Ethereum กับลูกฟรี จำนวน 5 ETH คิดเป็นมูลค่า 1 แสนบาท ดังนั้น ลูกไม่ต้องนำ 5 ETH มูลค่า 1 แสนบาท ไปเสียภาษีแต่อย่างใด เนื่องจากต้นทุน ETH เป็น 0 จากการที่ได้เหรียญมาฟรี

ต่อมามูลค่า 5 ETH เพิ่มขึ้นเป็น 2 แสนบาท ลูกได้ขาย 5 ETH ออกไปทั้งหมด เป็นเงิน 2 แสนบาท กรณีนี้ ลูกจึงมีกำไร 2 แสนบาท ตามราคาขายเต็มจำนวน (ราคาขาย 200,000 - ต้นทุน 0) เนื่องจากเหรียญได้มาฟรี และไม่ต้องเสียภาษี ทำให้คำนวณต้นทุนเหรียญ ETH ได้ 0 บาทเท่านั้น

7. ได้เหรียญคริปโทฯ ฟรี จากญาติ เพื่อน หรือคนรู้จัก


ขั้นตอนยื่นภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล_ได้เหรียญคริปโทฟรี.png

หากได้เหรียญคริปโทฯ มาฟรี จากญาติ เพื่อน หรือคนรู้จัก ที่ไม่ใช่บุพการี คู่สมรส หรือผู้สืบสันดาน คุณจะต้องนำเหรียญที่ได้มาไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ต่อเมื่อได้รับเหรียญเกิน 10 ล้านบาท ภายในปีภาษีนั้น โดยต้องเสียภาษีการรับให้เฉพาะส่วนเกิน 10 ล้านบาท ในอัตรา 5% เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) โดยขณะยื่นภาษีให้ระบุชื่อของประเภทของรายได้ว่า “เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา/จากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธี/ตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีตามมาตรา 42(28)”

ดังนั้น หากคุณได้รับเหรียญคริปโทฯ ไม่เกิน 10 ล้านบาท คุณจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และในเมื่อคุณได้เหรียญมาฟรี เหรียญคริปโทฯ นี้จึงมีต้นทุน 0 บาท หรือหากพิสูจน์ต้นทุนจากผู้ให้ได้ ก็สามารถนำต้นทุนเดิมของผู้ให้มาใช้เป็นต้นทุนของผู้รับได้เช่นกัน เพื่อใช้คำนวณกำไรสำหรับเสียภาษีหากนำไปขายในอนาคต

ตัวอย่าง
คุณได้เหรียญ KUB มาฟรีจากเพื่อน จำนวน 100 KUB มูลค่า 1,000 บาท ซึ่งคิดเป็นมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท จึงไม่ต้องนำ 100 KUB มูลค่า 1,000 บาท ไปเสียภาษีแต่อย่างใด โดยคำนวณต้นทุนของ 100 KUB เป็น 0 บาท เนื่องจากได้มาฟรีและได้รับยกเว้นภาษี

ต่อมามูลค่าของ KUB เพิ่มขึ้นเป็น 2,000 บาท จึงขายออกไปทั้งหมด 100 KUB เป็นเงิน 2,000 บาท กรณีนี้คุณจะมีกำไร 1000 บาท ตามราคาขายทั้งจำนวน (ราคาขาย 2000 - ต้นทุน 0) เนื่องจากการได้เหรียญมาฟรีและไม่ต้องเสียภาษี ทำให้คำนวณต้นทุนเหรียญ KUB ได้ 0 บาทเท่านั้น

8. ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการถือโทเคน เช่น Rewards เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร


ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการถือเหรียญ เช่น Rewards, เงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งกำไร เป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4)(ซ) ซึ่งต้องนำไปเสียภาษีได้ โดยขณะยื่นภาษีให้ระบุชื่อประเภทของรายได้ว่า “เงินส่วนแบ่งของกำไรหรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล”

ตัวอย่าง
ซื้อเหรียญ Security Token ไว้ แล้วเหรียญดังกล่าวจ่าย Rewards ให้ผู้ถือจำนวน 0.0001 BTC ให้นำมุลค่าของ BTC ณ ขณะที่ได้รับมาคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษี ดังนั้น หากขณะที่ยื่นได้รับ 0.001 BTC นั้น สามารถตีมูลค่าเหรียญได้ 1,000 บาท ผู้รับจะต้องนำ BTC มูลค่า 1,000 บาทนี้ ไปยื่นภาษี

ทั้งนี้ มูลค่า 0.001 BTC ที่ได้รับ จะคำนวณต้นทุนเท่ากับมูลค่าที่นำไปเสียภาษี คือ 1,000 บาท ดังนั้น หากในอนาคต มูลค่า 0.001 BTC เพิ่มขึ้นเป็น 2,000 บาท แล้วได้นำ 0.001 BTC ไปชาย จะรับรู้กำไรเท่ากับ 1,000 บาท (ราคาขาย 2,000 - ต้นทุน 1,000) เพื่อนำไปคำนวณภาษีจากกำไรต่อไป

9. นำคริปโทไป Stake แล้วได้ Rewards เป็นเหรียญคริปโทเพิ่มจาก DeFi รูปแบบต่าง ๆ เช่น Yield Farming หรือ Staking


ขั้นตอนยื่นภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล_DeFi.png

ปัจจุบัน ผลประโยชน์ที่ได้รับจาก DeFi เช่น Yield Farming หรือ Staking จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามแต่เหรียญตั้งต้นที่นำไป Stake ดังนี้

Rewards เกิดจากการฟาร์มเหรียญที่เป็นคริปโทเคอร์เรนซี (เช่น BTC หรือ ETH)
ตามกฏหมายปัจจุบันในขณะนี้ผลประโยชน์ที่ได้รับนี้จะถูกจัดเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) ซึ่งต้องนำไปเสียภาษีปีละ 2 ครั้ง (ครึ่งปีและประจำปี) โดยขณะยื่นภาษีให้ระบุชื่อประเภทของรายได้ว่า “ผลตอบแทนจากการนำคริปโทเคอร์เรนร์ซีไปแสวงหาประโยชน์”

ตัวอย่าง
นำ BTC ไป Locked Staking แล้วได้รับ Rewards เป็น BTC จำนวน 0.0001 BTC ให้นำมุลค่าของ BTC ณ ขณะที่ได้รับมาคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษี ดังนั้น หากขณะที่ยื่นได้รับ 0.001 BTC นั้น สามารถตีมูลค่าเหรียญได้ 1,000 บาท ผู้รับจะต้องนำ BTC มูลค่า 1,000 บาทนี้ ไปยื่นภาษี

ทั้งนี้ มูลค่า 0.001 BTC ที่ได้รับ จะคำนวณต้นทุนเท่ากับมูลค่าที่นำไปเสียภาษี คือ 1,000 บาท ดังนั้น หากในอนาคต มูลค่า 0.001 BTC เพิ่มขึ้นเป็น 2,000 บาท แล้วได้นำ 0.001 BTC ไปชาย จะรับรู้กำไรเท่ากับ 1,000 บาท (ราคาขาย 2,000 - ต้นทุน 1,000) เพื่อนำไปคำนวณภาษีจากกำไรต่อไป

Rewards เกิดจากการฟาร์มเหรียญที่เป็นโทเคนดิจิทัลอื่น ๆ เช่น Utility Token หรือ Security Token)
ผลประโยชน์ที่ได้รับนี้ จะถูกจัดเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ซ) ซึ่งต้องนำไปเสียภาษีประจำปี โดยขณะยื่นภาษีให้ระบุชื่อประเภทของรายได้ว่า “เงินส่วนแบ่งของกำไรหรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล”

ตัวอย่าง
นำเหรียญ Utility Token ไปทำ Yield Farming แล้วได้รับ Rewards เป็น BTC 0.001 BTC ให้นำมูลค่าของ BTC ณ ขณะที่ได้รับมาคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษี ดังนั้น หากขณะที่ได้รับ 0.001 BTC นั้น สามารถตีมูลค่าได้ 1,000 บาท ผู้รับจะต้องนำ BTC มูลค่า 1,000 บาทนี้ไปยื่นภาษี

ทั้งนี้ มูลค่าของ 0.001 BTC ที่ได้รับนี้ จะคำนวณต้นทุนเท่ากับมูลค่าที่นำไปเสียภาษี คือ 1,000 บาท ดังนั้น หากในอนาคต มูลค่า 0.001 BTC เพิ่มขึ้นเป็น 2,000 บาท แล้วได้นำ 0.001 BTC ไปชาย จะรับรู้กำไรเท่ากับ 1,000 บาท (ราคาขาย 2,000 - ต้นทุน 1,000) เพื่อนำไปคำนวณภาษีจากกำไรต่อไป

ข้อสังเกต
กรมสรรพากร จัดประเภทของสินทรัพย์ดิจิทัลว่าเป็น คริปโทเคอร์เรนซี หรือโทเคนดิจิทัล โดยอ้างอิงตาม คู่มือสินทรัพย์ดิจิทัลสำหรับผู้ลงทุน

10. ขุดคริปโท (Mining)


โดยปกติการขุดเหรียญ (Mining) จะทำให้ผู้คนได้รับเหรียญเพิ่มขึ้นใน Wallet แต่กรมสรรพากรกำหนดมาตรฐานว่า ผู้ขุด (Miner) จะยังไม่ต้องนำเหรียญที่ขุดได้มาเสียภาษีจนกว่าจะนำเหรียญที่ขุดได้นั้นไปขาย

ทั้งนี้ รายได้จากการขายเหรียญที่ขุดได้ถูกจัดเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) ซึ่งต้องนำไปเสียภาษีปีละ 2 ครั้ง (ครึ่งปีและประจำปี) โดยขณะยื่นภาษีให้ระบุชื่อประเภทของรายได้ว่า “รายได้จากการขายคริปโทเคอร์เรนซีที่ขุดได้”

ค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาใช้เป็นต้นทุนได้
เนื่องจากกรมสรรพากรตีความว่า การขุดเหรียญเป็นการประกอบธุรกิจชนิดหนึ่ง จึงอนุญาตให้หักค่าใช้จ่ายตามจริงและค่าเสื่อมราคาได้ เช่น

  • ค่าไฟฟ้า - ตามจริง
  • ค่าอินเตอร์เน็ต - ตามจริง
  • ค่าซ่อมอุปกรณ์ - ตามจริง
  • ค่าจ้างพนักงาน - ตามจริง
  • ค่าฝากเครื่องขุด - ตามจริง
  • ค่าเช่าเครื่องขุด - ตามจริง
  • ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์ (หักค่าเสื่อมราคา 3 ปี ปีละ 1/3 ของราคาคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา)
  • ค่าเครื่องขุด (หักค่าเสื่อมราคา 3 ปี ปีละ 1/3 ของราคาคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา)
  • ค่าการ์ดจอ (หักค่าเสื่อมราคา 3 ปี ปีละ 1/3 ของราคาคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา)

ทั้งนี้ ต้นทุนค่าขุดเหล่านี้ จะนำไปใช้คำนวณเป็นต้นทุนของเหรียญที่ขุดได้ เช่น ขุดได้ 1 BTC โดยมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 500,000 บาท หากต่อมานำ 1 BTC ที่ขุดได้ไปขายในราคา 1,000,000 บาท จะมีกำไร 500,000 บาท ซึ่งต้องนำกำไรไปเสียภาษีต่อไป

ข้อสังเกต
  • กรณีขุดคริปโทฯ ผู้เสียภาษีต้องเลือกวิธีคำนวณต้นทุนสำหรับคำนวณกำไรเพื่อเสียภาษีในแต่ละปีด้วยว่าจะใช้ วิธีต้นทุนแบบเข้าก่อน-ออกก่อน (Fisrt-in, First put: FIFO) หรือต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Cost) และหากปีภาษีนั้นเลือกวิธีคำนวณต้นทุนแบบใดต้องใช้แบบนั้นตลอดทั้งปีแต่ถ้าครึ่งปีภาษีใหม่จะเลือกใช้วิธีคำนวณต้นทุนแบบเดิมหรือเปลี่ยนวิธีใหม่ก็ได้
  • หากใช้วิธีอ้างอิงราคา ณ ขณะที่ขาย สามารถอ้างอิง ณ เวลาที่แลกเปลี่ยน ( Spot Rate) หรือราคาถัวเฉลี่ยของเหรียญที่แลกมา โดยอาศัยข้อมูลราคาอ้างอิงที่น่าเชื่อถือที่ประกาศโดย Exchange ที่จัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์ของ กลต. ก็ได้ แต่เมื่อเลือกแล้วว่าจะใช้ราคาอ้างอิงแบบ Spit Rate หรือราคาถัวเฉลี่ยแล้ว ให้ใช้วิธีนั้นตลอดทั้งปี
  • การแลกเหรียญคริปโทฯ เป็น Stable Coin เช่น แลก ETH เป็น USDT ก็เป็นธุรกรรมที่ทำให้ต้องคำนวณกำไรด้วยเช่นกัน แม้ว่าจะยังไม่ได้ขายเหรียญออกมาเป็นเงินสด (Fiat Currency) เลยก็ตาม
  • หากได้เหรียญสกุลเดียวกันจากทั้งวิธีการขุดและซื้อมาเอง ผู้เสียภาษีจะต้องแยกทำบัญชีต้นทุนของเหรียญทั้งสองกลุ่มนี้ แม้ว่าจะเป็นเหรียญสกุลเดียวกัน เพราะตามกฏหมายแล้วเป็นเงินได้คนละประเภท แต่เมื่อขายเหรียญดังกล่าวออกไปแล้ว ผู้เสียภาษีสามารถลงบันทึกทางบัญชีได้ว่า เป็นการขายเหรียญที่ได้จากขุดหรือขายเหรียญที่ซื้อมา

11. รายได้ที่ต้องหักภาษีจากการขาย NFT


ขั้นตอนยื่นภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล_NFT.png

กรณีเป็น Trader
การขาย NFT ในฐานะ Trader จะต้องเสียภาษีจากกำไรส่วนเกินทุน เหมือนการขายคริปโทฯ ทั่วไป หรือเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ฌ) นอกจากนี้ หากได้รับ Rotalty จากการเปลี่ยนมือในอนาคต ก็จะเสียภาษีโดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการได้รับประโยชน์จาก Air Drop เงินได้ตามมาตรา 40(8)

กรณีเป็นผู้สร้างสรรค์ NFT
การขาย NFT ในฐานะผู้สร้างสรรค์ สามารถตีความว่าเป็นการประกอบธุรกิจได้ จึงมีเงินได้ตามมาตรา 40(8) จะต้องเสียภาษีจากรายรับเมื่อขาย NFT เป็นเงินหรือแลกกับเหรียญคริปโทฯ อื่น

ค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาใช้เป็นต้นทุนได้
เนื่องจากกรมสรรพากร ตีความว่าการสร้างสรรค์ NFT เพื่อการขายเป็นการประกอบธุรกิจชนิดหนึ่ง จึงอนุญาตให้หักค่าใช้จ่ายตามจริง และค่าเสื่อมราคาได้ เช่น

  • ค่า GAS - ตามจริง
  • ค่าธรรมเนียม - ตามจริง
  • ค่าซ่อมอุปกรณ์ - ตามจริง
  • ค่าจ้างพนักงาน - ตามจริง
  • ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์ (หักค่าเสื่อมราคา 3 ปี ปีละ ⅓ ของราคาคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา)

12. ผลประโยชน์จาก GameFi


ขั้นตอนยื่นภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล_GameFi.png

ผลประโยชน์จาก GameFi เสียภาษีเหมือนผลประโยชน์ที่ได้รับจากการถือเหรียญ เช่น Rewards, เงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งกำไร เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ซ) ซึ่งต้องนำไปเสียภาษีได้ โดยขณะยื่นภาษีให้ระบุชื่อประเภทของรายได้ว่า “เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือผลประโยชน์อืนใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล”

กรณีถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ทำไมยังต้องยื่นภาษีประจำปี?
กรณีถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ทำไมยังต้องยื่นภาษีประจำปี เป็นเพราะว่ารายได้นั้นมาจากคริปโทฯ จึงมีหน้าที่นำเงินได้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้นมายื่นภาษีประจำปีร่วมกับรายได้อื่น ๆ อยู่ ไม่สามารถนับเป็นภาษีเสร็จเด็ดขาดได้ (Final Tax) กรณีนี้ จะไม่เหมือนกับการยื่นภาษีดอกเบี้ย หรือเงินปันผลได้

อย่างไรก็ตาม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย สามารถนำมาใช้เป็นเครดิตสำหรับคำนวณภาษีประจำปีได้ เหมือนการคำนวณภาษีจากรายได้ประเภทอื่นที่ได้รับตามปกติ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในมุมมองของกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กรมสรรพากรตีความว่าเหรียญคริปโทฯ เป็น “บริการทางอิเล็กทรอนิกส์” เนื่องจากครอบคลุมถึงทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างที่ส่งมอบโดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์อื่นใด ซึ่งลักษณะของบริการเป็นไปโดยอัตโนมัติในสาาระสำคัญ โดยบริการดังกล่าวไม่สามารถกระทำได้หากปราศจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

ดังนั้น โดยหลักทั่วไป หากขายเหรียญคริปโทฯ ระหว่างปีเกิน 1.8 ล้านบาท จะถูกบังคับให้ต้องจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • กรณีขายคริปโทเคอร์เรนซีผ่าน Exchange ในกำกับ กลต. (รอประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา)
  • หากเป็นการขายเหรียญคริปโทฯ บน Exchange ที่ กลต. กำกับ จะได้รับยกเว้นไม่ต้องคำนวณเป็นฐานสำหรับเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ รอประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา

ที่มา iTAX
อ่านเพิ่มเติม